Associative thinking ของ ความคิดเชิงไสยศาสตร์

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

นักวิชาการชาวตะวันตกสมัยวิกตอเรียกำหนด "associative thinking" (ความคิดเชื่อมโยง) ว่าเป็นรูปแบบเฉพาะอย่างหนึ่งของความคิดไร้เหตุผล (ซึ่งมักจะเห็นได้ในกลุ่มนักไสยศาสตร์)แต่ว่า ก็เหมือนกับรูปแบบต่าง ๆ ของความคิดเชิงไสยศาสตร์ทั้งหมด การหาเหตุผลโดยความเชื่อมโยงหรือโดยความเหมือน ไม่ใช่เรื่องที่มีเฉพาะกับนักไสยศาสตร์เท่านั้นยกตัวอย่างเช่น การแพทย์โบราณของชาวตะวันตกมีหลักอย่างหนึ่ง (doctrine of signatures) ที่เชื่อว่า ส่วนของพืชที่มีรูปร่างคล้ายกับอวัยวะในร่างกาย จะสามารถใช้รักษาโรคในอวัยวะนั้นได้ความคิดเชื่อมโยงเช่นนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการประยุกต์ใช้ representativeness heuristic (ฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทน) ของมนุษย์[3]

นักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษเอ็ดวาร์ด ไทเลอร์บัญญัติคำว่า "associative thinking" (ความคิดเชื่อมโยง)[4] ว่าเป็น ความเขลาของผู้ทรงไสย (magician's folly) ในการถือเอาผิด ๆ ว่า ความเชื่อมโยงที่จินตนาการเอาเป็นเรื่องจริงคือ ผู้ทรงไสยคิดว่า วัตถุ/สิ่งของ/เหตุการณ์ที่มีความคล้ายคลึงกัน สามารถมีอิทธิพลต่อกันและกันได้[5] ยกตัวอย่างเช่น คนอะซานด์ (Azande) ในแอฟริกากลางเหนือ[6] จะถูฟันจระเข้ที่ต้นกล้วยเพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์เพราะว่า ฟันจระเข้มีรูปร่างโค้งคล้ายลูกกล้วย และจะงอกใหม่ถ้าหลุดออก คนอะซานด์เห็นความคล้ายคลึงกันเช่นนี้ และต้องการที่จะสร้างความงอกใหม่ได้ให้กับต้นกล้วยจึงพยายามที่จะถ่ายทอดลักษณะฟันจระเข้ให้กับต้นกล้วย

ต่อมาชาวสก็อตเจมส์ เฟรเซอร์ ที่นับถือกันว่าเป็นบิดาของสาขามานุษยวิทยาปัจจุบันได้ต่อยอดหลักนี้ โดยแบ่งเวทมนตร์ (ไสยศาสตร์) ออกเป็นแบบ contagious (แบบติด) และแบบ sympathetic แบบติดเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสัมผัสกันคือ สิ่งที่เคยติดกันจะยังมีความเชื่อมโยงต่อกันและกันแม้ว่าจะแยกจากกันแล้วเช่น การทำร้ายผู้อื่นโดยทำการต่อผมที่หลุดออกมาแล้วของคนนั้นส่วนไสยศาสตร์แบบ Sympathetic และการแพทย์ทางเลือกแบบ homeopathy ทำงานโดยหลักที่อ้างว่า "สิ่งที่เหมือนกันจะมีอิทธิพลต่อสิ่งที่เหมือนกัน"หรือว่า เราสามารถถ่ายทอดลักษณะของวัตถุหนึ่งไปยังอีกวัตถุหนึ่งที่คล้ายกันได้เฟรเซอร์เชื่อว่า บุคคลเหล่านี้คิดว่า โลกทั้งหมดทำงานโดยอาศัยหลักการซึ่งล้อเลียนกันแบบนี้[7]

ในปี ค.ศ. 1925 นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส (Lucien Lévy-Bruhl) กล่าวว่า ชาวพื้นเมืองหรือคนดั้งเดิมที่มีวัฒนธรรมง่าย ๆ มี "ความคิดที่ไม่มีการแยกแยะละเอียดพอที่จะสามารถพิจารณาไอเดียหรือวัตถุสิ่งของว่า เป็นคนละส่วนกับอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเหตุเกิดของไอเดียนั้น หรือเป็นผลเกิดสืบเนื่องจากไอเดียนั้น"[8] แล้วอธิบายว่า ชาวพื้นเมืองมีเหตุผลวิบัติโดย Post hoc ergo propter hoc ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเราสังเกตเหตุว่าเหตุการณ์ "ข" เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ "ก" แล้วสรุปอาศัยความสืบเนื่องเช่นนี้อย่างเดียวว่า "ก" เป็นเหตุของ "ข"[9] นักปราชญ์ท่านนี้เชื่อว่า เหตุผลวิบัติเช่นนี้เป็นหลักสำคัญในวัฒนธรรมคนพื้นบ้าน และเกิดขึ้นเป็นปกติและบ่อย ๆ

แม้ว่าจะมีมุมมองเช่นนี้ว่า ความคิดเชิงไสยศาสตร์ไม่ประกอบด้วยเหตุผลและเป็นการหาเหตุผลที่ไม่ดี ในปี ค.ศ. 1966 นักมานุษยวิทยาชาวฝรั่งเศสเสนอว่า วิธีการทางไสยศาตร์บางอย่างมีอิทธิผลโดยเปรียบเทียบในการควบคุมสิ่งแวดล้อมมุมมองเช่นนี้ได้นำไปสู่ทฤษฎีทางเลือกอื่น ๆ ที่อธิบายความคิดทางไสยศาสตร์ โดยเป็นกระบวนการทางสัญลักษณ์ หรือกระบวนการทางจิตวิทยา ซึ่งลดความแตกต่างกันระหว่างกระบวนการความคิดของ "คนมีการศึกษา" และ "คนวัฒนธรรมง่าย ๆ" ดังที่นักมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน (Richard A. Shweder) กล่าวไว้ในปี ค.ศ. 1977 ว่า"กระบวนการทางสติปัญญาทั่วไปของเราไม่ได้มีความคิดเชิงไสยศาสตร์น้อยไปกว่าวิธีการรักษาของชาวอะซานด์"[10][n 1]

ใกล้เคียง

ความคิดแทรกซ้อน ความคิดเชิงไสยศาสตร์ ความคลั่งทิวลิป ความคิดเห็นทางศาสนาของไอแซค นิวตัน ความคลาดสี ความคุ้มกันแก่พระมหากษัตริย์ ความคิด ความคิด (เพลงอภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข) ความคลาดทางดาราศาสตร์ ความคุ้มกันทางทูต

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความคิดเชิงไสยศาสตร์ http://psychologytoday.com/articles/pto-20080225-0... http://skepdic.com/magicalthinking.html //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/1473331 http://www.csicop.org/SI/show/magical_thinking_in_... //doi.org/10.1016%2F0010-0285(92)90015-T //doi.org/10.1016%2Fj.pedn.2011.11.006 //doi.org/10.1016%2Fs0891-5245(06)80008-8 //doi.org/10.1037%2F0022-3514.67.1.48 //doi.org/10.1080%2F15289168.2011.600137 //doi.org/10.1086%2F201974